วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่7 เรื่อง OSI Model

  OSI ModelOpen Systems Interconnection Basic Reference Model (OSI Model หรือ OSI Reference Model) เป็นมาตรฐานการอธิบายการติดต่อสื่อสารและโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อว่า International Organization for Standardization (ISO)
  การแบ่งชั้นใน OSI Model
โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ
Application Layer - ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS,HTTP,Browser เป็นต้น


Presentation Layer   -   ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ,เอกสาร,ไฟล์วีดีโอ]
Session Layer   -   ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
Transport Layer   -   ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
Network Layer   -   ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
Data Link Layer   -   ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
Physical Layer   -   ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

บทที่6 เรื่องระบบเครือข่ายและโทโปโลยี

    รูปแบบของการเชื่อมโยงเครื่อข่าย หรือโทโปโลยี( Lan Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ ( ภายนอก )    ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย Lan แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป       การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและ
คุณสมบัติข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย   ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
   โทโปโลยีแบบบัส : Bus Topology
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน ( Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช ้
เป็นทาง เดินข้อมูล ของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย  ละจะมีสายแยกย่อยออกไปใน
แต่ละจุด   เพื่อเชื่อมต่อเข้า  กับ  คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ  ซึ่งเรียกว่าโหนด ( Node )
ข้อมูลจากโหนด   ผู้ส่งจะ ถูกส่งเข้าสู่ ู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ     ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะ
ประกอบไปด้วยข้อมู ของผู้ส่ง , ผู้รับ  และ   ข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะ
เป็นแบบ 2ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2ด้านของบัส โดย ตรงปลาย ทั้ง  2 ด้านของบัส
จะมีเทอร์มิเนเตอร์ ( Terminator )  ทำหน้าที่ลบล้าง สัญญาณที่ส่งมาถึงเพื่อป้องกัน
ไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามายังบัสอีกเพื่อเป็น  การป้องกันการ ชนกันของ
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนด     ส่งเมื่อเข้าสู่บัส
ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง       2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะ
คอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรง      กับตำแหน่งของตน
หรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้น เข้ามาสู่โหนดตน      แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณ
ข้อมูลนั้นผ่านไปจะเห็น ว่าทุก ๆ โหนดภาย ในเครือข่ายแบบ  BUS    นั้นสามารถรับรู้
สัญญาณข้อมูลได้แต่จะมีเพียงโหนด  ปลายทางเพียง โหนด เดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูล
นั้นไปได้
ข้อดี     :    1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
                  2. สามารถขยายระบบได้ง่าย
                  3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
 ข้อเสีย :   1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย  เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว          ดังนั้น    
หากมีการขาด ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย 
                  2. การตรวจหาโหนดเสียทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว      เท่านั้น
ที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก
ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
  โทโปโลยีแบบวงแหวน : Ring Topology
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง    ในระบบเครือข่ายทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ(Server)และเครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ      ( Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม  ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน       ทิศทางเดียวกัน    โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ ( Repeater ) ประจำแต่ละเครื่อง 1      ตัว ซึ่งจะ ทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของ   แพ็กเกจที่ส่งและตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง      ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
 ข้อดี  1. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง
ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeater    ของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่าข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น
เป็นตนเองหรือไม่
           2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ   RING     จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่องจึงไม่มีการชน
  กันของสัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป
             3. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาส ที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
 ข้อเสีย  1. ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำ
ให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
                2. ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่องเวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุกๆ Repeater จะต้องทำการ
ตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

   โทโปโลยีแบบดาว : Star Topology
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย   จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ ( HUB ) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็น่ศูนย์ กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่มาจาก เครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย ละควบคุมเส้นทางการ    สื่อสารทั้งหมดเมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น   ๆที่ต้องการ  ในเครือข่ายเครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง   HUB  หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน  HUB  ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี       การติดตั้งเครือข่ายและ การดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบ  ได้ง่าย และ    ศูนย์กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลยโดยไม่มี  ผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย     เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่าย ในการติดตั้ง สายเคเบิลในเครื่องอื่น  ๆ ทุกเครื่องการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยากเพราะการขยาย แต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


   โทโปโลยีแบบ Hybrid : Hybrid Topology
เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS ,    RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (          Wide Area Network) มากซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาณเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือRouter
เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
   โทโปโลยีแบบ Mesh : Mesh Topology
เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธี
การเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย     คือเครื่องทุกเครื่องในระบบ เครือข่ายนี้
ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

บทที่5 เรื่องโปรโตคอลและไอพีแอดเดรส

IP ADDRESS
กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารบนระบบเครือข่าย Internet ซึ่งหมายเลข IP Address ถูกกำหนดตายตัวไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขได้ จะต่างกับหมายเลข MAC address ( Media Access Control Address ) ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวอุปกรณ์และไม่นิยมใช้บนเครือข่ายเพราะจะทำให้เกิดปัญหามาก เมื่อมีการย้ายเครื่องใหม่จำต้องมีการกำหนดระบบเครือข่ายใหม่ ( Configuration ) จำตัวเลขได้ยากกว่า
การทำงานของโปรโตคอล IP จำต้องอาศัย IP Address เพื่อระบุและอ้างอิงอุปกรณ์ต่างๆที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ซึ่งค่า IP Address จะเป็นค่าตัวเลขขนาด 32 บิต ถูกแบ่งออกเป็นส่วนละ 8 บิต 4 ส่วน และคั่นแต่ละส่วนด้วยเครื่องหมายจุด ( . ) ดังนั้นค่าตัวเลขในแต่ละส่วนจะมีได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255(28 ) เช่น 205.144.78.1ฯลฯ นอกจากนี้ IP Address บางหมายเลขจะถูกสงวนการใช้ไว้เพื่อที่จะทำหน้าที่พิเศษเป็น Loop Back เพื่อเป็นแอดเดรสย้อนกลับสำหรับค่าอุปกรณ์นั้นเช่น 127.0.0.0
ค่าของ IP Address จะถูกกำหนดออกเป็น 2 ความหมายคือ ค่าของหมายเลขอุปกรณ์ในเครือข่ายและค่าของหมายเลขเครือข่าย เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องต่ออยู่บนเครือข่ายโดยมี IP Address ประจำตัวคือ 205.144.78.2 และ 205.144.78.3 แสดงให้เห็นว่าหมายเลข 205.144.78 นั้นบอกได้ว่าทั้ง 2 เครื่องนั้นต่ออยู่บนเครือข่ายเดียวกัน แต่มีหมายเลขประจำตัวเครื่องที่แตกต่างกันคือ 2 และ 3 ตามลำดับ
เพื่อมิให้มีการแจกจ่ายหมายเลข IP Address ที่ซ้ำซ้อนกันจึงมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนด IP Addressและแจกจ่ายเลขหมายให้แต่ละองค์กรใช้งานคือหน่วยงานInterNIC(Internet Network Information Center ) เป็นผู้ดูแลบานข้อมูลการแจกจ่ายแอดเดรส


IPv4 และ IPv6
..จากที่ผ่านมาในช่วงหลายทศวรรษ จะเห็นได้ว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของ IPv4 ลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนาวิธีการทำซับเน็ต (Subnetting) และวิธี CIDR ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานหมายเลขไอพีที่มีอยู่ แต่จากการขยายตัวทางโครงข่ายอินเทอร์เนทอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ หมายเลขไอพีแอดเดรส 4 พันล้านหมายเลขหมดลงในที่สุด จึงต้องมีการคิดค้นโปรโตคอลตัวใหม่ขึ้นมาแทนที่โปรโตคอลชุด IPv4 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ปี ค.ศ. 1991องค์กร IETF จึงเริ่มโครงการวิจัยเพื่อการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางพัฒนาในรูปแบบใหม่ขึ้น โดยอ้างถึงโปรโตคอลดังกล่าวในชื่อ ไอพียุคถัดไป ( IPng: IP next generation ) ซึ่งผลการวิจัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน และเรียกโปรโตคอลตัวใหม่อย่างเป็นทางการว่า IPv6 หรือโปรโตคอลไอพีรุ่น 6 ซึ่งพื้นฐานการทำงานจะยึดมาจากข้อกำหนดของ IPv4 เพื่อให้สอดคล้องและรองรับความต้องการของรูปแบบการสื่อสารสมัยใหม่ สามารถสรุปเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้คือ
- มีการเพิ่มและขยายขนาดของหมายเลขไอพีแอดเดรสจากเดิม 32 บิต เป็น 128 บิต ซึ่งมีขนาดใหญ่มากถึง 3.4*10 38 หมายเลขเมื่อเทียบกับไอพีแบบเดิม
ที่มีขนดเพียง4*10 9
รูป unicast

2. มัลติคาสต์ ( Multicast ) เป็นการส่งข้อมูลจากที่ๆหนึ่งให้กับกลุ่มของผู้รับใดๆกลุ่มหนึ่งที่กำหนดไว้เงื่อนไข เรียกว่าเป็นการส่งแบบ One-to-Many ซึ่งจะแตกต่างจากการส่งข้อมูลแบบ Broadcast ที่ส่งข้อมูลแบบ One-to-All คือ ทำการส่งให้ทุกคนที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งการที่ขนาดของไอพีแอดเดรสที่ใหญ่กว่าแบบเดิมทำให้ มีไอพีแอดเดรส ที่ทำหน้าที่ multicast มีจำนวนมากกว่าโดยโครงสร้างจะเป็นดังรูป


รูป multicast
 3. เอนี่คาสต์ (Anycast) เป็นไอพีแอดเดรสที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ภายใต้การกำหนดจากหมายเลข multicast address ทำหน้าที่คล้าย multicast ที่สามารถกำหนดค่าหมายเลขให้มีจุดเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 เลขหมาย ซึ่งการส่งข้อมูลไปยัง ไอพีแอดเดรสที่เป็น Anycast นี้จะเหมือนกับการส่งข้อมูลให้กับทุกคนในกลุ่มของ อินเทอร์เฟซเดียวกัน

บทที่4 วิธีการถ่ายทอดข้อมูล

Data:
Analog: คือ จะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่น เสียงพูดของมนุษย์ เสียงดนตรี วีดีโอ เป็นต้น
Digital:  คือ  จะมีลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน ส่วนของข้อมูลดิจิตอลจะประกอบด้วยเลขฐาน2
Signal:
Analog: เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่มีลักษณะต่อเนื่อง
Digital:  เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปแบบของระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม
            Digital Data-->Signal Options
การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Digital Data to Analog Signal
สำหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์(ดิจิตอล) บนระบบการสื่อสารแบบแอนะล็อกในขณะที่โมเด็มปลายทางก็สามารถแปลงสัญญาณแอนะ ล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Digital Data to Digital Signal
จะมีเทคนิควิธีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิตอลหลายวิธีด้วยกัน เช่น
-NRZ-L จัดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการส่งสัญญาณดิจิตอลโดยใช้ระดับแรงดัน มีข้อเสีย ตรงที่ยากต่อการตัดสินใจว่าจุดใดเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสัญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญทีเดียวสำหรับการนำไปซิงโครไนซ์
-NRZ-I จะคล้ายกับเทคนิค NRZ-L แต่มีความแม่นยำกว่าตรงที่มีการเปรียบเทียบระดับสัญญาณ
-Manchester ใช้สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น โดยการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่จุดกึ่งกลางของต่ละช่วงบิต เพื่อใช้แทนบิตข้อมูลและกำหนดจังหวะ
-Differential Manchester .ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงจะพิจารณาจากช่วงกลางบิตเพื่อใช้สำหรับกำหนดจังหวะClocking เท่านั้น
            Analog Data-->Signal Options
การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Analog Data to Analog Signal
จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย มีต้นทุนต่ำ โดยจะแทนข้อมูลแอนะล็อกด้วยสัญญาณแอนะล็อก เช่น ระบบวิทยุกระจายเสียง
            การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Analog Data to Digital Signal
จะใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า โคเดค CODEC จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ด้วยการใช้เทคนิค Voice Digitization ตัวอย่างอุปกรณ์ โคเดค เช่น ซาวน์การ์ด สแกนเนอร์ วอยซ์เมล และวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์
องค์ประกอบการถ่ายทอดสัญญาณ
-ทิศทางการถ่ายทอดสัญญาณ
-รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ
ทิศทางการถ่ายทอดสัญญาณ คือทิศทางการส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ปกติของการสื่อสารข้อมูลนั้นสัญญาณจะถูกส่งผ่านสื่อออกไปยังผู้รับ โดยมีการกำหนดขั้นตอนและวิธีการควบคุมทิศทางการส่งที่แน่นอน จึงจะสามารถรับส่งข้อมูลได้ถูกต้อง
วิธีการควบคุมทิศทางการรับ-ส่งข้อมูลนั้นมี 3 วิธี คือ
1.แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นการสื่อสารโดยการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียว
2.แบบกึ่งสองทิศทาง (Half-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลได้ทั้ง 2 ทิศทางแต่ไม่สามารถส่งทั้งไปและกลับ พร้อมกันได้ เช่น วิทยุสื่อสาร
3.แบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลได้ทั้งไปและกลับได้ในระยะเวลาเดียวกัน เช่น การคุยโทรศัพท์
**ระบบการสื่อสารและระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ใช้วิธี Half Duplex เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าและได้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน**
การถ่ายทอดสัญญาณสำหรับคอมพิวเตอร์
1.การถ่ายทอดสัญญาณแบบขนาน
2.การถ่ายทอดสัญญาณแบบอนุกรม
การถ่ายทอดสัญญาณแบบขนาน
เป็นการถ่ายทอดสัญญาณในลักษณะขนานแบบอะซิงค์ จะส่งข้อมูลได้เร็ว เนื่องจากทุกบิตจะถูกส่งออกไปทีเดียวพร้อมกัน ตามจำนวนสายของสื่อ แบบขนานกันไป ไม่ต้องเรียงกัน แต่ข้อเสียคือจะเสียค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องมีสายสื่อหลายเส้น
การถ่ายทอดสัญญาณแบบอนุกรม
เป็นการถ่ายทอดสัญญาณในลักษณะของกระแสบิตเรียงกันไปตามลำดับบนสายสื่อสาร เพียงเส้นเดียว ซึ่งใช้วิธีการส่งได้ 2 แบบ คือ แบบซิงค์ และแบบอะซิงค์
รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ
รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ หมายถึง กระบวนการในการถ่ายทอดสัญญาณระหว่างผู้รับและผู้ส่ง กระบวนการถ่ายทอดสัญญาณพื้นฐานที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.การถ่ายทอดสัญญาณแบบ อะซิงค์โคนัส (Asynchronization) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโดยส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ตัวอักษรและมีการเพิ่มบิตนำหน้าและบิตสุดท้าย เพื่อบอกขอบเขตของข้อมูลและยังเพิ่มบิตที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง เรียกว่า Parity Bit
ประสิทธิภาพการส่งสัญญาณแบบอะซิงค์โคนัส เป็นวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพต่ำ เพราะสัญญาณที่เป็นข้อมูลจริงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนสัญญาณที่ถูกส่ง ออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม วิธีการส่งแบบนี้ยังเป็นแบบที่ง่ายที่สุด จึงยังใช้งานในปัจจุบัน
2.การถ่ายทอดสัญญาณแบบ ซิงโคนัส (Synchronization) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหนึ่งกลุ่ม หรือ บล็อก ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ
1.ตัวอักษรซิงค์ 3 ตัว
2.ข้อมูลที่ต้องการส่ง
3.ชุดข้อมูลควบคุม

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล

  ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น


  สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)
 เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย


  เร้าเตอร์ (Router)
 เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน
(Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล(Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น


  เกทเวย์ (Gateway)
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่ง โปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วยกัน

โมเดม (Modem)


วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 2 สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

    ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่าน จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูล ที่สื่อกลางนั้น ๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือ ที่เรียกกันว่าแบบด์วิดท์  มีหน่วยเป็นจำนวน
บิตข้อมูลต่อวินาที  ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้
สื่อกลางประเภทมีสาย   เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
   สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน





 สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)



     มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลี่ยวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน


สายโคแอคเชียล (Coaxial)
   สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
     สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้น ๆ ว่า  "สายโคแอก"  จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพที่กว่าและราคาแพงกว่า สายเกลียวคู่  ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่  2  ชั้น  ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง  ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา  เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน  สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย  มี  2  แบบ คือ  75  โอมห์ และ  50 โอมห์  ขนาดของสายมีตั้งแต่  0.4 - 1.0  นิ้ว   ชั้นตัวเหนี่ยวนำทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสี  เปลือกฉนวนหนาทำให้สายโคแอก
มีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้  นอกจากนั้นสาย  โคแอกยังช่วยป้องกัน  "การสะท้อนกลับ" (Echo)  ของเสียงได้อีกด้วยและลดการ รบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกัน
           สายโคแอกสามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง  1 ช่องทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์  แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณ ในบรอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี  คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและแบบอนาล็อก  สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง  2  กม.  ในขณะที่บรอดแบนด์ส่งได้ไกลกว่าถึง  6 เท่า  โดยไม่ต้องเครื่องทบทวน  หรือเครื่องขยายสัญญาณเลย  ถ้าอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ  FDM  สายโคแอกสามารถมีช่องทาง (เสียง)  ได้ถึง  10,000  ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง  50  เมกะบิตต่อวินาที  หรือ 800 เมกะบิตต่อวินาที  ถ้าใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุก ๆ 1.6  กม. ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือสายเคเบิลทีวี  และสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก)  สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น  หรือ  LAN (ดิจิตอล)  หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  
 ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
    ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ ความเร็วของแสง
   หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล)  ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน  จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ ของแสง ผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสง ผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน  ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง
    จากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อกหรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน  จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลต ผ่านตัวไดโอดซึ่งมี  2  ชนิดคือ  LED  ไดโอด  (light Emitting Diode)  และเลเซอร์ไดโอด หรือ  ILD ไดโอด  (Injection Leser Diode)  ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านที่มองเห็นได้  หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้  ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์  ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก  เมื่อถึงปลายทางก็จะมีตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode)  ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม  จากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต  เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ
    สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์  (BW)  ได้กว้างถึง  3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109) และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง  1 จิกะบิต ต่อวินาที  ภายในระยะทาง  100 กม.  โดยไม่ต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณเลย  สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสารได้มากถึง  20,000-60,000  ช่องทาง  สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน  10 กม.  จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000  ช่องทางทีเดียว









ข้อดีของใยแก้วนำแสดงคือ
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
สื่อกลางประเภทไม่มีสาย 
   ระบบไมโครเวฟ  (Microwave System)
 การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี)  ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่ง  แต่ละหาจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30-50  กม.  ระยะห่างของแต่ละหอคำนวณง่าย ๆ ได้จาก
สูตร
        d  = 7.14 (1.33h)1/2 กม.
       เมื่อ     d = ระยะห่างระหว่างหอ  h = ความสูงของหอ  









    การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา  แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล  ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  10 ฟุต  สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง  (2-10 จิกะเฮิรตซ์)  เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ  แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง  หรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด  พายุหรือฝน  ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน  และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล
    ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย  สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล ๆ หรือระหว่างอาคาร  โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายไฟเบอร์ออปติก  หรือการสื่อสารดาวเทียม  อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า  และติดตั้งได้ง่ายกว่า  และสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย  อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม  คือราคาที่ถูกกว่า



   การสื่อสารด้วยดาวเทียม  (Satellite Transmission)
    ที่จริงดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง  ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล  รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียม ที่อยู่บนพื้นโลก  สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับ ตำแหน่งบนพื้นโลก  ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ  23,300  กม.  เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder)  จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย   จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง  แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง  การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า  "สัญญาณอัปลิงก์"
(Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์ (Down-link)
 ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point)  หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast)  สถานีดาวเทียม  1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง  25 เครื่อง   และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง  1 ใน 3  ของพื้นผิวโลก  ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง  3  ดวงเท่านั้น





    ระหว่างสถานีดาวเทียม  2  ดวง  ที่ใช้ความถี่ของสัญญาณเท่ากันถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปอาจจะทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณ ซึ่งกันและกันได้  เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวน  หรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างของสถานีดาวเทียม และย่านความถี่ของสัญญาณดังนี้
   ระยะห่างกัน  4 องศา  (วัดมุมเทียงกับจุดศูนย์กลางของโลก)  ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ  4/6 จิกะเฮิรตซ์  หรือย่าน C แบนด์โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ  5.925-6.425 จิกะเฮิรตซ์  และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ  3.7-4.2 จิกะเฮิรตซ์
ระยะห่างกัน  3 องศา  ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ  12/14  จิกะเฮิรตซ์  หรือย่าน KU แบนด์  โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ  14.0-14.5  จิกะเฮิรตซ์  และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ  11.7-12.2 จิกะเฮิรตซ์ 
 นอกจากนี้สภาพอากาศ เช่น ฝนหรือพายุ  ก็สามารถทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน
     สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นในแต่ละเครื่องทบทวนสัญญาณจะมีแบนด์วิดท์เท่ากับ  36  เมกะเฮิรตซ์  และมีอัตราเร็วการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ  50 เมกะบิตต่อวินาที
      ข้อเสีย ของการส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ  สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่น ๆ ได้  อีกทั้งยังมีเวลาประวิง(Delay Time)  ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ  และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน  

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่1ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารข้อมูล

รูปแบบของการสื่อสารข้อมูล (Communications Model)


จุดมุ่งหมายหลักของระบบสื่อสารคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งอาจรับข้อมูลหรือส่งเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีทั้งการรับและส่งได้ทั้งสองฝ่าย จาก (รูปที่ 2.2) แสดงการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Workstation กับเครื่อง Server ผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ องค์ประกอบพื้นฐานของโครงสร้างระบบสื่อสารประกอบด้วย
1. อุปกรณ์ต้นทาง (Source) อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่สร้างข้อมูลขึ้นมา ที่ใช้ในการกระจายออกไป

2. อุปกรณ์กระจายข้อมูล (Transmitter) โดยปกติข้อมูลที่สร้างขึ้นมา จากต้นทาง ไม่สามารถกระจายหรือส่งข้อมูลในรูปแบบนั้นให้กับผู้รับอื่นได้โดยตรง จำเป็นต้องอาศัยตัวกระจายข้อมูล (Transmitter) ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง รูปแบบข้อมูลให้อยู่ ในสภาพที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Signals) แล้วส่งผ่านเข้าไปในระบบรับส่งข้อมูล (Transmission System) ตัวอย่างเช่นข้อมูลที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์ต้นทาง (Source) เครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะส่งออกไปจะต้องมีโมเด็ม (Modem) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital Bit Stream) ไปเป็นสัญญาณอนาลอก (Analog Signal) ซึ่งเป็นสถานะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งผ่านเข้าไปในระบบเครือข่ายโทรศัพท์ (Telephone Network)
3. ระบบการส่งสัญญาณ (Transmission) จะทำหน้าที่เป็นตัวนำพาสัญญาณจากเครื่องส่งหรืออุปกรณ์ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่ง transmission หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสื่อนำสัญญาณ (media) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะทั้งสื่อนำสัญญาณแบบมีสารและไร้สาย

4. อุปกรณ์รับสัญญาณ (Receiver) อุปกรณ์ที่เป็น receiver จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากระบบกระจายสัญญาณ (transmission system) แล้วเปลี่ยนแปลงสัญญาณกลับเป็นรูปแบบที่เหมือนกับต้นฉบับก่อนที่จะส่งออกมาจากต้นทาง ทำให้อุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูล ที่รับเข้ามาได้ เช่น โมเด็ม (Modem) จะเปลี่ยนสัญญาณอนาลอก (analog) กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล (digital) ให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ปลายทางอ่านข้อมูลหรือจัดการกับข้อมูลได้

5. อุปกรณ์ปลายทาง (Destination) รับข้อมูลเข้ามาจาก อุปกรณ์รับสัญญาณ (receiver)