วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่7 เรื่อง OSI Model

  OSI ModelOpen Systems Interconnection Basic Reference Model (OSI Model หรือ OSI Reference Model) เป็นมาตรฐานการอธิบายการติดต่อสื่อสารและโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อว่า International Organization for Standardization (ISO)
  การแบ่งชั้นใน OSI Model
โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ
Application Layer - ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS,HTTP,Browser เป็นต้น


Presentation Layer   -   ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ,เอกสาร,ไฟล์วีดีโอ]
Session Layer   -   ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
Transport Layer   -   ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
Network Layer   -   ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
Data Link Layer   -   ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง
Physical Layer   -   ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

บทที่6 เรื่องระบบเครือข่ายและโทโปโลยี

    รูปแบบของการเชื่อมโยงเครื่อข่าย หรือโทโปโลยี( Lan Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ ( ภายนอก )    ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย Lan แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป       การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและ
คุณสมบัติข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย   ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
   โทโปโลยีแบบบัส : Bus Topology
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน ( Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช ้
เป็นทาง เดินข้อมูล ของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย  ละจะมีสายแยกย่อยออกไปใน
แต่ละจุด   เพื่อเชื่อมต่อเข้า  กับ  คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ  ซึ่งเรียกว่าโหนด ( Node )
ข้อมูลจากโหนด   ผู้ส่งจะ ถูกส่งเข้าสู่ ู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ     ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะ
ประกอบไปด้วยข้อมู ของผู้ส่ง , ผู้รับ  และ   ข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะ
เป็นแบบ 2ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2ด้านของบัส โดย ตรงปลาย ทั้ง  2 ด้านของบัส
จะมีเทอร์มิเนเตอร์ ( Terminator )  ทำหน้าที่ลบล้าง สัญญาณที่ส่งมาถึงเพื่อป้องกัน
ไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามายังบัสอีกเพื่อเป็น  การป้องกันการ ชนกันของ
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนด     ส่งเมื่อเข้าสู่บัส
ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง       2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะ
คอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรง      กับตำแหน่งของตน
หรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้น เข้ามาสู่โหนดตน      แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณ
ข้อมูลนั้นผ่านไปจะเห็น ว่าทุก ๆ โหนดภาย ในเครือข่ายแบบ  BUS    นั้นสามารถรับรู้
สัญญาณข้อมูลได้แต่จะมีเพียงโหนด  ปลายทางเพียง โหนด เดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูล
นั้นไปได้
ข้อดี     :    1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
                  2. สามารถขยายระบบได้ง่าย
                  3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
 ข้อเสีย :   1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย  เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว          ดังนั้น    
หากมีการขาด ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย 
                  2. การตรวจหาโหนดเสียทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว      เท่านั้น
ที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก
ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
  โทโปโลยีแบบวงแหวน : Ring Topology
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง    ในระบบเครือข่ายทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ(Server)และเครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ      ( Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม  ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน       ทิศทางเดียวกัน    โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ ( Repeater ) ประจำแต่ละเครื่อง 1      ตัว ซึ่งจะ ทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของ   แพ็กเกจที่ส่งและตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง      ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
 ข้อดี  1. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง
ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeater    ของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่าข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น
เป็นตนเองหรือไม่
           2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ   RING     จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่องจึงไม่มีการชน
  กันของสัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป
             3. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาส ที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
 ข้อเสีย  1. ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำ
ให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
                2. ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่องเวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุกๆ Repeater จะต้องทำการ
ตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

   โทโปโลยีแบบดาว : Star Topology
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย   จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ ( HUB ) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็น่ศูนย์ กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่มาจาก เครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย ละควบคุมเส้นทางการ    สื่อสารทั้งหมดเมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น   ๆที่ต้องการ  ในเครือข่ายเครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง   HUB  หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน  HUB  ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี       การติดตั้งเครือข่ายและ การดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบ  ได้ง่าย และ    ศูนย์กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลยโดยไม่มี  ผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย     เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่าย ในการติดตั้ง สายเคเบิลในเครื่องอื่น  ๆ ทุกเครื่องการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยากเพราะการขยาย แต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


   โทโปโลยีแบบ Hybrid : Hybrid Topology
เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS ,    RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (          Wide Area Network) มากซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาณเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือRouter
เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
   โทโปโลยีแบบ Mesh : Mesh Topology
เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธี
การเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย     คือเครื่องทุกเครื่องในระบบ เครือข่ายนี้
ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

บทที่5 เรื่องโปรโตคอลและไอพีแอดเดรส

IP ADDRESS
กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารบนระบบเครือข่าย Internet ซึ่งหมายเลข IP Address ถูกกำหนดตายตัวไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขได้ จะต่างกับหมายเลข MAC address ( Media Access Control Address ) ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวอุปกรณ์และไม่นิยมใช้บนเครือข่ายเพราะจะทำให้เกิดปัญหามาก เมื่อมีการย้ายเครื่องใหม่จำต้องมีการกำหนดระบบเครือข่ายใหม่ ( Configuration ) จำตัวเลขได้ยากกว่า
การทำงานของโปรโตคอล IP จำต้องอาศัย IP Address เพื่อระบุและอ้างอิงอุปกรณ์ต่างๆที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ซึ่งค่า IP Address จะเป็นค่าตัวเลขขนาด 32 บิต ถูกแบ่งออกเป็นส่วนละ 8 บิต 4 ส่วน และคั่นแต่ละส่วนด้วยเครื่องหมายจุด ( . ) ดังนั้นค่าตัวเลขในแต่ละส่วนจะมีได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255(28 ) เช่น 205.144.78.1ฯลฯ นอกจากนี้ IP Address บางหมายเลขจะถูกสงวนการใช้ไว้เพื่อที่จะทำหน้าที่พิเศษเป็น Loop Back เพื่อเป็นแอดเดรสย้อนกลับสำหรับค่าอุปกรณ์นั้นเช่น 127.0.0.0
ค่าของ IP Address จะถูกกำหนดออกเป็น 2 ความหมายคือ ค่าของหมายเลขอุปกรณ์ในเครือข่ายและค่าของหมายเลขเครือข่าย เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องต่ออยู่บนเครือข่ายโดยมี IP Address ประจำตัวคือ 205.144.78.2 และ 205.144.78.3 แสดงให้เห็นว่าหมายเลข 205.144.78 นั้นบอกได้ว่าทั้ง 2 เครื่องนั้นต่ออยู่บนเครือข่ายเดียวกัน แต่มีหมายเลขประจำตัวเครื่องที่แตกต่างกันคือ 2 และ 3 ตามลำดับ
เพื่อมิให้มีการแจกจ่ายหมายเลข IP Address ที่ซ้ำซ้อนกันจึงมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนด IP Addressและแจกจ่ายเลขหมายให้แต่ละองค์กรใช้งานคือหน่วยงานInterNIC(Internet Network Information Center ) เป็นผู้ดูแลบานข้อมูลการแจกจ่ายแอดเดรส


IPv4 และ IPv6
..จากที่ผ่านมาในช่วงหลายทศวรรษ จะเห็นได้ว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของ IPv4 ลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนาวิธีการทำซับเน็ต (Subnetting) และวิธี CIDR ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานหมายเลขไอพีที่มีอยู่ แต่จากการขยายตัวทางโครงข่ายอินเทอร์เนทอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ หมายเลขไอพีแอดเดรส 4 พันล้านหมายเลขหมดลงในที่สุด จึงต้องมีการคิดค้นโปรโตคอลตัวใหม่ขึ้นมาแทนที่โปรโตคอลชุด IPv4 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ปี ค.ศ. 1991องค์กร IETF จึงเริ่มโครงการวิจัยเพื่อการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางพัฒนาในรูปแบบใหม่ขึ้น โดยอ้างถึงโปรโตคอลดังกล่าวในชื่อ ไอพียุคถัดไป ( IPng: IP next generation ) ซึ่งผลการวิจัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน และเรียกโปรโตคอลตัวใหม่อย่างเป็นทางการว่า IPv6 หรือโปรโตคอลไอพีรุ่น 6 ซึ่งพื้นฐานการทำงานจะยึดมาจากข้อกำหนดของ IPv4 เพื่อให้สอดคล้องและรองรับความต้องการของรูปแบบการสื่อสารสมัยใหม่ สามารถสรุปเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้คือ
- มีการเพิ่มและขยายขนาดของหมายเลขไอพีแอดเดรสจากเดิม 32 บิต เป็น 128 บิต ซึ่งมีขนาดใหญ่มากถึง 3.4*10 38 หมายเลขเมื่อเทียบกับไอพีแบบเดิม
ที่มีขนดเพียง4*10 9
รูป unicast

2. มัลติคาสต์ ( Multicast ) เป็นการส่งข้อมูลจากที่ๆหนึ่งให้กับกลุ่มของผู้รับใดๆกลุ่มหนึ่งที่กำหนดไว้เงื่อนไข เรียกว่าเป็นการส่งแบบ One-to-Many ซึ่งจะแตกต่างจากการส่งข้อมูลแบบ Broadcast ที่ส่งข้อมูลแบบ One-to-All คือ ทำการส่งให้ทุกคนที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งการที่ขนาดของไอพีแอดเดรสที่ใหญ่กว่าแบบเดิมทำให้ มีไอพีแอดเดรส ที่ทำหน้าที่ multicast มีจำนวนมากกว่าโดยโครงสร้างจะเป็นดังรูป


รูป multicast
 3. เอนี่คาสต์ (Anycast) เป็นไอพีแอดเดรสที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ภายใต้การกำหนดจากหมายเลข multicast address ทำหน้าที่คล้าย multicast ที่สามารถกำหนดค่าหมายเลขให้มีจุดเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 เลขหมาย ซึ่งการส่งข้อมูลไปยัง ไอพีแอดเดรสที่เป็น Anycast นี้จะเหมือนกับการส่งข้อมูลให้กับทุกคนในกลุ่มของ อินเทอร์เฟซเดียวกัน

บทที่4 วิธีการถ่ายทอดข้อมูล

Data:
Analog: คือ จะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่น เสียงพูดของมนุษย์ เสียงดนตรี วีดีโอ เป็นต้น
Digital:  คือ  จะมีลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน ส่วนของข้อมูลดิจิตอลจะประกอบด้วยเลขฐาน2
Signal:
Analog: เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่มีลักษณะต่อเนื่อง
Digital:  เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปแบบของระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม
            Digital Data-->Signal Options
การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Digital Data to Analog Signal
สำหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์(ดิจิตอล) บนระบบการสื่อสารแบบแอนะล็อกในขณะที่โมเด็มปลายทางก็สามารถแปลงสัญญาณแอนะ ล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Digital Data to Digital Signal
จะมีเทคนิควิธีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิตอลหลายวิธีด้วยกัน เช่น
-NRZ-L จัดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการส่งสัญญาณดิจิตอลโดยใช้ระดับแรงดัน มีข้อเสีย ตรงที่ยากต่อการตัดสินใจว่าจุดใดเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสัญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญทีเดียวสำหรับการนำไปซิงโครไนซ์
-NRZ-I จะคล้ายกับเทคนิค NRZ-L แต่มีความแม่นยำกว่าตรงที่มีการเปรียบเทียบระดับสัญญาณ
-Manchester ใช้สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น โดยการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่จุดกึ่งกลางของต่ละช่วงบิต เพื่อใช้แทนบิตข้อมูลและกำหนดจังหวะ
-Differential Manchester .ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงจะพิจารณาจากช่วงกลางบิตเพื่อใช้สำหรับกำหนดจังหวะClocking เท่านั้น
            Analog Data-->Signal Options
การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Analog Data to Analog Signal
จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย มีต้นทุนต่ำ โดยจะแทนข้อมูลแอนะล็อกด้วยสัญญาณแอนะล็อก เช่น ระบบวิทยุกระจายเสียง
            การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Analog Data to Digital Signal
จะใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า โคเดค CODEC จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ด้วยการใช้เทคนิค Voice Digitization ตัวอย่างอุปกรณ์ โคเดค เช่น ซาวน์การ์ด สแกนเนอร์ วอยซ์เมล และวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์
องค์ประกอบการถ่ายทอดสัญญาณ
-ทิศทางการถ่ายทอดสัญญาณ
-รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ
ทิศทางการถ่ายทอดสัญญาณ คือทิศทางการส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ปกติของการสื่อสารข้อมูลนั้นสัญญาณจะถูกส่งผ่านสื่อออกไปยังผู้รับ โดยมีการกำหนดขั้นตอนและวิธีการควบคุมทิศทางการส่งที่แน่นอน จึงจะสามารถรับส่งข้อมูลได้ถูกต้อง
วิธีการควบคุมทิศทางการรับ-ส่งข้อมูลนั้นมี 3 วิธี คือ
1.แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นการสื่อสารโดยการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียว
2.แบบกึ่งสองทิศทาง (Half-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลได้ทั้ง 2 ทิศทางแต่ไม่สามารถส่งทั้งไปและกลับ พร้อมกันได้ เช่น วิทยุสื่อสาร
3.แบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลได้ทั้งไปและกลับได้ในระยะเวลาเดียวกัน เช่น การคุยโทรศัพท์
**ระบบการสื่อสารและระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ใช้วิธี Half Duplex เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าและได้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน**
การถ่ายทอดสัญญาณสำหรับคอมพิวเตอร์
1.การถ่ายทอดสัญญาณแบบขนาน
2.การถ่ายทอดสัญญาณแบบอนุกรม
การถ่ายทอดสัญญาณแบบขนาน
เป็นการถ่ายทอดสัญญาณในลักษณะขนานแบบอะซิงค์ จะส่งข้อมูลได้เร็ว เนื่องจากทุกบิตจะถูกส่งออกไปทีเดียวพร้อมกัน ตามจำนวนสายของสื่อ แบบขนานกันไป ไม่ต้องเรียงกัน แต่ข้อเสียคือจะเสียค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องมีสายสื่อหลายเส้น
การถ่ายทอดสัญญาณแบบอนุกรม
เป็นการถ่ายทอดสัญญาณในลักษณะของกระแสบิตเรียงกันไปตามลำดับบนสายสื่อสาร เพียงเส้นเดียว ซึ่งใช้วิธีการส่งได้ 2 แบบ คือ แบบซิงค์ และแบบอะซิงค์
รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ
รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ หมายถึง กระบวนการในการถ่ายทอดสัญญาณระหว่างผู้รับและผู้ส่ง กระบวนการถ่ายทอดสัญญาณพื้นฐานที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.การถ่ายทอดสัญญาณแบบ อะซิงค์โคนัส (Asynchronization) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโดยส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ตัวอักษรและมีการเพิ่มบิตนำหน้าและบิตสุดท้าย เพื่อบอกขอบเขตของข้อมูลและยังเพิ่มบิตที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง เรียกว่า Parity Bit
ประสิทธิภาพการส่งสัญญาณแบบอะซิงค์โคนัส เป็นวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพต่ำ เพราะสัญญาณที่เป็นข้อมูลจริงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนสัญญาณที่ถูกส่ง ออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม วิธีการส่งแบบนี้ยังเป็นแบบที่ง่ายที่สุด จึงยังใช้งานในปัจจุบัน
2.การถ่ายทอดสัญญาณแบบ ซิงโคนัส (Synchronization) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหนึ่งกลุ่ม หรือ บล็อก ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ
1.ตัวอักษรซิงค์ 3 ตัว
2.ข้อมูลที่ต้องการส่ง
3.ชุดข้อมูลควบคุม