วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่4 วิธีการถ่ายทอดข้อมูล

Data:
Analog: คือ จะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่น เสียงพูดของมนุษย์ เสียงดนตรี วีดีโอ เป็นต้น
Digital:  คือ  จะมีลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน ส่วนของข้อมูลดิจิตอลจะประกอบด้วยเลขฐาน2
Signal:
Analog: เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่มีลักษณะต่อเนื่อง
Digital:  เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปแบบของระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม
            Digital Data-->Signal Options
การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Digital Data to Analog Signal
สำหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์(ดิจิตอล) บนระบบการสื่อสารแบบแอนะล็อกในขณะที่โมเด็มปลายทางก็สามารถแปลงสัญญาณแอนะ ล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Digital Data to Digital Signal
จะมีเทคนิควิธีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิตอลหลายวิธีด้วยกัน เช่น
-NRZ-L จัดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการส่งสัญญาณดิจิตอลโดยใช้ระดับแรงดัน มีข้อเสีย ตรงที่ยากต่อการตัดสินใจว่าจุดใดเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสัญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญทีเดียวสำหรับการนำไปซิงโครไนซ์
-NRZ-I จะคล้ายกับเทคนิค NRZ-L แต่มีความแม่นยำกว่าตรงที่มีการเปรียบเทียบระดับสัญญาณ
-Manchester ใช้สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น โดยการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่จุดกึ่งกลางของต่ละช่วงบิต เพื่อใช้แทนบิตข้อมูลและกำหนดจังหวะ
-Differential Manchester .ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงจะพิจารณาจากช่วงกลางบิตเพื่อใช้สำหรับกำหนดจังหวะClocking เท่านั้น
            Analog Data-->Signal Options
การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Analog Data to Analog Signal
จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย มีต้นทุนต่ำ โดยจะแทนข้อมูลแอนะล็อกด้วยสัญญาณแอนะล็อก เช่น ระบบวิทยุกระจายเสียง
            การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Analog Data to Digital Signal
จะใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า โคเดค CODEC จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ด้วยการใช้เทคนิค Voice Digitization ตัวอย่างอุปกรณ์ โคเดค เช่น ซาวน์การ์ด สแกนเนอร์ วอยซ์เมล และวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์
องค์ประกอบการถ่ายทอดสัญญาณ
-ทิศทางการถ่ายทอดสัญญาณ
-รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ
ทิศทางการถ่ายทอดสัญญาณ คือทิศทางการส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ปกติของการสื่อสารข้อมูลนั้นสัญญาณจะถูกส่งผ่านสื่อออกไปยังผู้รับ โดยมีการกำหนดขั้นตอนและวิธีการควบคุมทิศทางการส่งที่แน่นอน จึงจะสามารถรับส่งข้อมูลได้ถูกต้อง
วิธีการควบคุมทิศทางการรับ-ส่งข้อมูลนั้นมี 3 วิธี คือ
1.แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นการสื่อสารโดยการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียว
2.แบบกึ่งสองทิศทาง (Half-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลได้ทั้ง 2 ทิศทางแต่ไม่สามารถส่งทั้งไปและกลับ พร้อมกันได้ เช่น วิทยุสื่อสาร
3.แบบสองทิศทางสมบูรณ์ (Full-Duplex) เป็นการส่งข้อมูลได้ทั้งไปและกลับได้ในระยะเวลาเดียวกัน เช่น การคุยโทรศัพท์
**ระบบการสื่อสารและระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ใช้วิธี Half Duplex เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าและได้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน**
การถ่ายทอดสัญญาณสำหรับคอมพิวเตอร์
1.การถ่ายทอดสัญญาณแบบขนาน
2.การถ่ายทอดสัญญาณแบบอนุกรม
การถ่ายทอดสัญญาณแบบขนาน
เป็นการถ่ายทอดสัญญาณในลักษณะขนานแบบอะซิงค์ จะส่งข้อมูลได้เร็ว เนื่องจากทุกบิตจะถูกส่งออกไปทีเดียวพร้อมกัน ตามจำนวนสายของสื่อ แบบขนานกันไป ไม่ต้องเรียงกัน แต่ข้อเสียคือจะเสียค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องมีสายสื่อหลายเส้น
การถ่ายทอดสัญญาณแบบอนุกรม
เป็นการถ่ายทอดสัญญาณในลักษณะของกระแสบิตเรียงกันไปตามลำดับบนสายสื่อสาร เพียงเส้นเดียว ซึ่งใช้วิธีการส่งได้ 2 แบบ คือ แบบซิงค์ และแบบอะซิงค์
รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ
รูปแบบการถ่ายทอดสัญญาณ หมายถึง กระบวนการในการถ่ายทอดสัญญาณระหว่างผู้รับและผู้ส่ง กระบวนการถ่ายทอดสัญญาณพื้นฐานที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.การถ่ายทอดสัญญาณแบบ อะซิงค์โคนัส (Asynchronization) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโดยส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ตัวอักษรและมีการเพิ่มบิตนำหน้าและบิตสุดท้าย เพื่อบอกขอบเขตของข้อมูลและยังเพิ่มบิตที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง เรียกว่า Parity Bit
ประสิทธิภาพการส่งสัญญาณแบบอะซิงค์โคนัส เป็นวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพต่ำ เพราะสัญญาณที่เป็นข้อมูลจริงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนสัญญาณที่ถูกส่ง ออกไปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม วิธีการส่งแบบนี้ยังเป็นแบบที่ง่ายที่สุด จึงยังใช้งานในปัจจุบัน
2.การถ่ายทอดสัญญาณแบบ ซิงโคนัส (Synchronization) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหนึ่งกลุ่ม หรือ บล็อก ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ
1.ตัวอักษรซิงค์ 3 ตัว
2.ข้อมูลที่ต้องการส่ง
3.ชุดข้อมูลควบคุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น